Skip to content
QUV & Q-FOG
ความแตกต่าง และการใช้ประโยชน์ของ เครื่องเร่งและจำลองแบบแสงอุลตร้าไวโอเลต (QUV) กับ เครื่องเร่งและจำลองสภาวะแบบแสงแดด (Q-SUN)
1. ลักษณะการทำงานที่แตกต่าง (Running and Feature)
1.1 เครือง QUV มีลักษณะและ Function ดังนี้
1.1.1 Light Cycle
– UVA-340 (295-385 nm)
– UCB-313 (275-315 nm)
โดยแสง UV สามารถเลือกประเภทของหลอดได้ 2 ประเภท โดยส่วนใหญ่
– UVA ใช้เพื่อทดสอบงานมาตราฐานการทดสอบต่างๆ และการทดสอบ ที่เหมือนกับสภาวะอากาศจริงๆ
– UVB ใช้เพื่อทดสอบงานที่ต้องใช้ความเข้มแสงมากกว่าแสง UV ในแสงแดดปกติ ใช้งานเป้นงานวิจัยและพัฒนาโดยส่วนใหญ่
1.1.2 อุณหภูมิ โดยใช้ BPT Sensor ควบตุมอุณหภูมิที่ 45°C ถึง 85°C (ขั้นอยู่กับ Cycle ที่ทดสอบ)
1.1.3 Condensation Cycle
เป็นฟังก์ชั่นกาารทำงานที่เน้นการจำลองสภาวะอากาศแบบ กลางคืน และเช้ามืด เพื่อจำลองสภาวะแบบมีความชื้นสูงมากๆ และมืด
(Hight-Humidity & Dark), ความชื้นสูงกว่า 95% RH
1.1.4 Spray Cycle
เป็นฟังก์ชั่นที่เน้นการทดสอบแบบอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงงแบบทันทีทันใด จากอถณหภูมิสูงไปอุณหภูมิต่ำ (Machanical Strees)
Temperature 75°C ลดลงเหลือ 25°C (ภายใน 2-3 นาที)
1.2 เครื่อง Q-SUN มีลักษณะการทำงานและฟังก์ชั่น ดังนี้
1.2.1 Light Cycle
เป็นระบบที่ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบหลอดซีนอน (Xenon Lamp) เพื่อการเปล่งพลังงานของแสงแดดแบบทั้งหมดของแสงแดด
(Whole spectrum of sunlight) โดยต้องใช้ประเภทของ Optical Filter เพื่อเลือกประเภทของแสงแดดที่ต้องการ คือ
– Daylight Filter จำลองแสงแดดปกติภายนอก
– Window Filter จำลองแสงแดดภายใน
– Extend UV Filter จำลองแสสงแดดแบบ แสงแดดภายนอก บวก พลังงานแสงแดดในช่วงยูวี (UV energy) สูงขึ้น
1.2.2 Temperature
อุณหภูมิสามารถปรับได้ตั้งแต่ 45°C ถึง 110°C ขึ้นอยู่กับมาตราฐานการทดสอบหรืองานวิจัยที่ต้องการทดสอบ
1.2.3 Relative Humidity
สามารถควบคุมความชื้นได้ระหว่าง 20% RH ถึง 95% RH (ขึ้นอยู่กับรุ่นและฟังก์ชั่นเพิ่ม)
1.2.4 Spray (Front spray, Back spray, Chemical spray)
เป็นระบบการจำลองสภาวะฝนตก หรือฝนกรด
1.3 สรุป
ดูเหมือนระบบการทำงานของเครื่อง QUV กับเครื่อง Q-SUN จะมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน แต่มีจุดที่แตกต่างกัน
มากพอสมควร คือ
1.3.1 พลังงานของแสงแดด (Energy of sunlight) จะทำงานคนละช่วงความยาวคลื่น
– Q-SUN ช่วงความยาวคลื่น 295 – 800 nm
– QUV. ช่วงความความคลื่น 295 – 385 nm
ทำให้ลักษณะการเสื่อมสภาพของชิ้นงานตัวอย่างไม่เหมือนกัน
1.3.2 ความชื้น (% Relative Humidity)
Q-SUN สามารถปรับความชื้นได้ตั้งแต่ 20% RH ถึง 95% RH ส่วน QUV ไม่สามารถปรับความชื้นได้
แต่จะให้ความชื้นสูงมากเท่านั้น ที่มากกว่า 95% RH ทำให้ความเสื่อมสภาพของชิ้นงานไม่เหมือนกันแต่คนละสาเหตุกับแสงแดด
1.3.3 อุณหภูมิ
ในฟังก์ชั่นนี้จะไม่แตกต่างกันมากเพราะสามารถควบคุม ปรับอุณหภูมิได้ในช่วงที่ใกล้เคียงกัน
1.3.4 Spray (ฝนตก)
เหมือนกันในกรณีฝนตก แต่ Q-SUN จะมีฟังก์ชั่นของ ฝนกรด หรือ Back spray (มาตราฐานรถยนต์)
2. การเสื่อมสภาพของชิ้นงานตัวอย่างที่ไม่เหมือนกัน (Mode of Degradation)
2.1 เครื่อง QUV เกิดการเสื่อมสภาพในแบบต่างๆเช่น
– Cracking
ตัว base ของพลาสติกไม่ต้องการยึดสี (Pigment) ทำให้สีหลุดออกจากตัว base ทำให้เป็นสีขาว เป็นรอยจ้ำๆ
– Loss of Tensile Strength
การแตกลายงาของชิ้นงาน
– Yellowing (Color change)
การเหลืองตัว ทำให้อาจจะเกิดสีที่เปลี่ยนไป
– Shrinking
การยึดตัวและหดตัว จนสุดท้ายเกิดการหดตัว
– Peeling
การหลุดล่อนของสีที่เคลือบผิว
– Fading
จะเป็นตัวที่เกิดได้น้อยแต่อาจจะเกิดได้เช่นกัน
– Embrittlement
ทำให้เกิดการเปราะตัว
ซึ่งจะเรียกการเสื่อมสภาพของตัวอย่างเหล่านั้นว่า “Polymer Degradation”
2.2 เครื่อง Q-SUN จะเกิดการเสื่อมสภาพในแบบหลักๆ คือ
– Color Fading
สีอ่อนลงจากเดิม
– Color Fastness
ทำให้สีของตัวอย่างซีดจางลงจากเดิม