เครื่องเร่งสภาวะอากาศด้วยไอเกลือ (Q-FOG)

เครื่องจำลองสร้างหมอกไอเกลือ

Q-FOG

Cyclic Corrosion Tester

Mode Function ต่างๆของเครื่องทำงานอย่างไร ?

     1. FOG Function (SALT FOG for ALL MODEL)

Fog Feature
         เมื่อเข้าสู่การใช้งานแบบFog ระบบ Peristatic Pump สามารถปรับปริมาตรและอัตราการไหลของของเหลวได้ จะดูดสารละลายเกลือ (Salt Solution)จากถังเก็บสารละลาย(Reservoir) ผ่านตามท่อขนาดเล็กส่วนอีกด้านหนึ่งอากาศที่ ถูกแรงดัน (Compressed Air) ผ่านท่อขนาดเล็กแล้วผ่านระบบ ทำให้อากาศปกติกลายเป็นอากาศร้อนโดยผ่านชุด Bubble Tower ทำหน้าที่ต้มน้ำอัดเป็นไอร้อนขนานไปกับท่อของสารละลายเกลือไปบรรจบกันที่หัวพ่นละอองขนาดเล็ก (Spray Nozzle) ทำให้เกิดละอองฝอยของไอเกลือเป็นหมอก “Salt Fog”
    Salt-Fog
                         – Flow rate 0.75 – 1.50 ml/hr
           Feature Simulation
                         – เป็นการจำลองสภาวะของไอเกลือ ที่เกาะตามผิวของชิ้นงานตัวอย่าง เพื่อเป็นการทดสอบความทนทานต่อการกัดกร่อน (เหมือนจำลองสภาวะอากาศตอนเช้า และตอนกลางวันที่มีไอเกลือ)

     หมายเหตุ:

                    สามารถปรับอัตราการเกิดหมอกของเกลือ (Salt Fog) ได้โดยปรับอัตราการไหลของสารละลายเกลือที่ Flow Meter ด้านข้างในห้อง Control ของเครื่องและปรับอัตราแรงดันอากาศที่ Spray Air Pressure ที่เกจปรับที่อยู่ด้านบนตรงตำแหน่งใต้หน้าจอควบคุมการทำงานของ Dis[lay บนเครื่อง
 

     2. DRY-OFF Function

Dry Off & Dwell
          เมื่อเข้าสู่ระบบการทำให้อากาศแห้ง (Dry-Off) ชุดเป่าลทร้อน (Air Heater Blower) และมีตัวเป่า (Blower) ทำให้ความร้อนของลมเกิดการกระจายตัวที่ดี อุณหภูมิสม่ำเสมอ ชุดแผ่นผนังทำความร้อน (Chamber Heater) กับตัวทำลมร้อน (Air Heater) จะทำหน้าทีควบคุมอุณหภูมิภายในห้องทดสอบ (Chamber Temperature) และไอเกลือจะถูกไล่ออกทางช่อง Air Vent ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว ออกไปจากห้องทดสอบตัวอย่างภายในเครื่องจนหมด
     Dry-off
                  – Temperature = 60 ºC  ± 2 ºC, %RH = ≤30% RH
      Feature Simulation
                  – เป็นการจำลองสภาวะของความร้อนในตอนกลางวัน ที่ทำให้ไอเกลือที่เกาะชิ้นงานตัวอย่างเกิดแห้ง เกิดการกัดกร่อนที่สภาวะนี้ (เหมือนจำลองสภาวะอากาศ ตอนกลางวันแดดร้อนจัด)

      3. Dwell Function

          เป็นโหมดการทำงานที่ไมมีการควบคุมสภาวะใดๆในห้องทดสอบ ปล่อยให้เกิดปฏิกิริยาตามธรรมชาติ
      Dwell
                 – Temperature = 25 ºC ±3 ºC, %RH = 45% RH
     Feature Simulation
                 – เป็นลักษณะการจำลองสภาวะอากาศในตอนเย็น ที่ปล่อยให้ชิ้นงานเกิดปฏิกิริยาการกัดกร่อนแบบไม่มีตัวเร่งใดๆในระบบ (เหมือนจำลองสภาวะอากาศในตอนเย็น)

     4. HUMIDITY Function ที่ใช้งานกับรุ่น CCT 

          Humidity Function
          ในโหมดของการทำความชื้น เครื่องจะมีชุดทำความชื้น (Vapor Generator) เป็นตัวเพิ่มความขื้นในห้องทดสอบให้มีค่าไม่ต่ำกว่า 95% RH ซโดยในห้องทดสอบจะมีรังผึ้งพลาสติกเป็นช่องๆช่วยระบายความชื้นให้ทั่วบริเวณภายในห้องทดสอบ
     HUMIDITY (MODEL CCT ONLY)
                    – Temperature = 49 ºC ±2 ºC, %RH = ≥ 95% RH
     Feature Simulation
                    – เป็นการจำลองสภาวะอากาศในตอนกลางคืน จนถึงเช้ามืด เพราะจะมีความชื้น ในสภาวะอากาศที่สูงมาก (เหมือนตอนกลางคืน)

     หมายเหตุ

          ระบบน้ำที่นำมาใช้งานทดสอบจะต้องมีความบริสุทธิ์ ในระดับ De-ionize (น้ำ DI) จึงจะทำให้เครื่องทำงานได้อย่างมีประสิทธิถาพดี
 

     5. HUMIDITY (MODEL CRH ONLY)

Humidity Mode for Model CRH

          เป็นโหมดที่มีการควบคุม ความชื้น และอุณหภูมิโดยผ่านการทำงานตัว Air Preconditioners ตัวเป่าลมและหัวโลหะที่ให้อนุภาคเล็กๆ โดยเฉพาะการทำความชื้นผ่านช่องบริเวณชุดหัวทำความชื้น ( special atomizing humidification nozzle ) ทำให้การควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ เป็นไปได้อย่างแม่นยำ
บริเวณฮีตเตอร์ที่อยู่ด้านใต้ของตัวเครื่อง เป็นฮีตเตอร์แบบใหม่ ที่เป็นแบบซี่ทำให้พื้นที่ผิวในการสร้างความร้อนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในงานมาตรฐานรถยนต์ใหม่ๆ ที่มีการกำหนดระยะเวลาของการเปลี่ยนสถานะการทดสอบ ในอุณหภูมิและความชื้นที่แตกต่างกันเช่น JASO M 609 และ M610 .
          Jaso M 609,610  เป็นมาตรฐานในการทดสอบค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น โดยเฉพาะอยู่ในเรื่องของการเสื่อมสภาพของช่วงล่างของรถยนต์ เนื่องจากการถูกการกัดกร่อนโดยไอเกลือหรือไอกรด
           การเปลี่ยนสเต็ปของการทดสอบจากสเต็ปหนึ่งไปสเต็ปสอง มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในห้องทดสอบ (chamber air temperature ) จาก 35 องศา เซลเซียส ไปที่ 60 องศาเซลเซียส มีการกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนสถานะอยู่ที่ไม่เกิน 30 นาทีในขณะเดียวกัน
           การเปลี่ยนแปลงจากสเต็ปสองไปที่สเต็ปสามที่อุณหภูมิ 60 องศา เซลเซียส ลดต่ำลงมาหรืออุณหภูมิ 50 องศา เซลเซียส ก็ควรจะใช้เวลาระยะเวลาไม่เกินกว่า 15 นาทีเท่านั้น
          ในส่วนของความชื้นจะมีตัวกำหนดที่สถานะการเปลี่ยนแปลงสเต็ปจากสเต็ปที่สองไปสเต็ปที่สาม โดยเปลี่ยนแปลงความชื้นจาก 25 ความชื้นสัมพัทธ์ไปที่ 100 ความชื้นสัมพัทธ์โดยใช้เวลาไม่เกินกว่า 15 นาที เท่านั้น

     6. Shower (MODEL CRH ONLY)

 

TOP-MOUNTED SWAYING SHOWER BAR

          เป็นฟังก์ชันที่ใช้เฉพาะสำหรับมาตรฐานงานรถยนต์ ที่ต้องการคุณภาพในการทดสอบการกัดกร่อน ที่สูงเช่น Ford CETP:00.00-L467 ,SAE J 2334 , J 2721 , Volvo STD , Toyota CCT-C และ Volkswagen PV 1210  โดยเป็นการทดสอบที่ใช้สเปรย์ปล่อย แนวดิ่ง ซึ่งขนาดของอนุภาคของไอเกลือจะใหญ่กว่าแบบปกติ อัตราการเกิดไอเกลือ จะเกิดขึ้นเร็วและสูงกว่าปกติ แล้วที่สำคัญจะใช้เวลาในการดรอปที่สั้นกว่า ทำให้ง่ายในการควบคุมและการปรับอัตราการเกิดไอเกลือได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ ปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างมากในการทดสอบการตรวจสอบอัตราการเกิดสนิมของชิ้นงานตัวอย่าง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์เพราะเป็นฟังก์ชันในการทำงานที่นำสมัยที่สุดแล้วในปัจจุบัน
            Ford L 467  มาตรฐานรถยนต์ค่ายอเมริกา โดยเฉพาะยี่ห้อฟอร์ด ตามมาตรฐานฟอร์ด L-467 ระบุว่าตัวเครื่องมือที่ทดสอบสภาวะการกัดก่อน จะต้องมีระบบทั้งพรี คอนดิชั่นเนอร์ (pre-conditioner) และระบบโอเวอร์เฮดชาวเวอร์บาร์ (overhead swaying shower bar) เพื่อให้มาตรฐานของฟอร์ดสามารถเพิ่ม อุณหภูมิจาก 25 องศา เซลเซียส ไปอยู่ที่ 50 องศา เซลเซียส ภายในเวลา 2 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิจาก 95% ลดต่ำลงเหลือ 70% ภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงเช่นกัน เป็นมาตรฐานที่ฟอร์ดระบุไว้แล้วเข้มงวดมาก
            Click เพื่อดูการทำงานของ Top Mounted Swaying Shower Bar (TMSSB)