Proposal of Color

Proposal

เครื่องวัดสีเป็นเครื่องมือที่ใช้กำหนดมาตรฐานของสีของผลิตภัณต์ที่ต้องการควบคุมคุณภาพของสี และ ขจัดข้อโต้แย้งจากการมองสีด้วยสายตามนุษย์เอง เพราะมีข้อจำกัดหลายประการจากการใช้ตาในการมองสี อาทิเช่น

  1. ประสิทธิภาพการมองเห็นสี ด้วยสายตามีความเบี่ยงเบนตามประเจกบุคคล ทั้งเรื่อง อายุ,เพศ,ประสบการณ์
  2. ตามนุษย์เวลามองเฉดสีไม่สามารถแปลงออกมาเป็นตัวเลขค่าสีต่างๆได้
  3. ตาของมนุษย์ไม่สามารถจำเฉดสีได้

4.มนุษย์มีอารมณ์ และ ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องเวลาตัดสินเรื่องสี ตรงตาม มาตรฐานหรือไม่ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการควบคุมคุณภาพสีที่ดี

 

ปัจจุบันเครื่องวัดสีได้พัฒนาให้ขจัดข้อจำกัดดังกล่าวและ อ่านค่าสีใกล้เคียงกับสายตามนุษย์ที่มอง มากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับและใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

 

ยิ่งไปกว่านั้น คุณประโยชน์ของสีในผลิตภัณต์……………………. ยังบ่งบอกถึงปัจจัยในการกระตุ้นต่างๆ เช่น

  1. การชักนำด้วยเฉดสี ทำให้เกิดการบริโภค (Enticing consumption)
  2. การรับรู้ถึงคุณภาพของผลิตภัณต์ทีดีกว่า (Perceiving better quality)
  3. สีความหมาย มากกว่าความเป็นสี (Signifying something importa) บ่งบอกบางสิ่ง ที่สำคัญ เช่น ประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของยา (API) ความแดงของซอสมะเขือเทศ (Tomato sauce score)

 

โดยในอุตสาหกรรม หรืองานทีเกี่ยวข้องกับสีในงานอาหารและเครื่องดื่ม

นอกเหนือจากการดูค่าสีของผลิตภัณต์จากค่า CIELAB หรือ HunterLab แล้วนั้น ยังมีค่าสีต่างๆที่บ่งบอก ขั้นตอนหรือกระบวณการผลิตอาหารนั้นว่าเหมาะสมดีหรือไม่

Maillard reaction

ยกตัวอย่างในงานปิ้งย่าง (Grill) หรือ อบ (Bake) เกิดปฎิกิริยาเคมีของ กรดอมิโน (Amino Acid) กับน้ำตาลโมเลกุลเล็ก(Pedncing Sugar)ที่เราเรียกว่า Maillard reaction ทำให้เกิดกลิ่นไหม้ในอาหาร (Brownish Color) ซึ่งเป็นกลิ่นหอม หรือกลิ่นไหม้ของอาหารก็ขึ้นอยู่กับ เวลาในการปรุงอาหาร (Time) รวมทั้งความแรงของไฟที่ใช้ (Temperature) เช่น การย่างเนื้อสเต๊ก (Steak) การอบแพนเค้ก (Pancake) หรือ ขนมจีบ (Dumping)

โดยมีสเกลที่ใช้ดังนี้

  1. Browning Index (BI) – เป็นความสุกหรือความไหม้ของอาหารนั้น

โดยที่

 

ซึ่งค่า BI  เป็นค่าที่ไม่ได้มีค่าที่เป็นมาตรฐานแต่พ่อครัวหรือผู้ทำอาหารจะต้องทราบว่า การย่างเนื้อสเต๊ก (Grilled Steak) หรือการอบแพนเค้ก (Baked Pancake) ควรจะต้องมีค่าที่เหมาะสมที่จะทำให้รสชาติของอาหารได้รสชาติที่ดีที่สุด

ส่วนค่าที่อ่านสำหรับค่าความเข้มของเฉดสีในปฎิกิรยา Maillard เรียกว่า Color Intensity

 

Color Intensity (CI) =

และค่าที่คำนวณย้อนกลับของค่าความเข้มของเฉดสี (CI) คือ ค่าความขาวใยปฎิกิริยา มิลลาร์ด (Maillard)

Whitness Index (Maillard ) =

ทำให้สามารถตรวจสอบค่ากลับไป – กลับมาได้ว่าวิธีการปรุงอาหารของเราเป็นอย่างไร

 

 

Tomato Sauce

หรือในการตรวจสอบค่าความแดง (redness) ของซอสมะเขือเทศก็สามารถตรวจสอบได้จากค่าของ

  1. Tomato Past score (TPS)

เป็นค่าความแดงของมะเขือเทศเข้มข้น (Concentrated Past Tomato) ใช้ความเข้มของมะเขือเทศจากความแดง เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตซอสมะเขือเทศ

  1. Tomato Sauce Score (TSS)

เป็นค่าตรวจสอบความแดงของซอสมะเขือเทศที่ผลิตออกมาจำหน่าย

  1. Tomato catsup Score (TCS)

คล้ายกับค่าของ TSS แต่เป็นอีกสเกลที่ใช้ตรวจสอบซอสมะเขือเทศ

  1. Tomato Juice Score (TJS)

เป็นค่าความแดงของน้ำมะเขือเทศสด

  1. a/b ratio

เป็นค่าความแดง (a จาก HunterLab) ต่อค่าความเหลือง (b จาก HunterLab) ซึ่งค่ายยิ่งสูง a>b ยิ่งขายได้มีราคามากขึ้น (Commercial Grade) เพราะมีความแดงของมะเขือเทศ

  1. Fresh Tomato Color Index (FTCI)

เป็นค่าที่บ่งบอกสาร Lycopene ซึ่งเป็นสารตานอนุมูลอิสระ ว่ามีมากน้อยแค่ไหนซึ่งค่า FTCI ยิ่งสูงยิ่งมีคุณค่าสารอาหารมากขึ้น

COFFEE

ปัจจัยในการดำรงชีพของมนุษย์ประการหนึ่งคือ อาหาร การบริโภคอาหารก็เพื่อให้ได้รับสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายแต่สำหรับการดื่มกาแฟ วัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ การได้รับรู้กลิ่นและรสชาติที่หอมกลมกล่อม ประกอบกับ ผลที่ได้รับจากการดื่มทีทำให้ผู้ดื่มรู้สึกกระปรี้กระเปร่าหายง่วง ทำให้ความนิยมในการดื่มกาแฟ สูงขึ้นและแพร่หลายในทุกเพศทุกวัย

วัตถุดิบ

กาเลือกใช้กาแฟ ที่มีคุณภาพเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จในธุรกิจกาแฟ รวมทั้งร้านกาแฟ ลูกค้าจะสามารถแยกแยะกาแฟแท้หรือไม่แท้ออกจากกัน และในที่สุดจะเริ่มเข้าใจคำว่า วัตถุดิบ ที่ดีจะได้คุณภาพ รสชาติ ความหอม ยิ่งพันธุ์กาแฟ อาราบิก้า (Arabica) เป็นที่นิยมในวงการมากวก่ากาแฟโรบัสต้า (Robusta)

โดยสีของกาแฟที่เป็นวัตถุดิบ (Green Bean) สามารถควบคุมได้โดยใช้สเกลสี CIE LAB หรือ HunterLab

โดย  CIE LAB (Est 1976)

L* = ……………………………….

a* = ………………………………

b* =………………………………

 

HunterLab (Est 1958)

โดย X Y Z มาจาก CIE X Y Z

Xn,Yn,Zn เป็นค่า Illumination Co-efficient

Ka,Kb =  conversion Factor

การคั่ว (Roastirg)

การคั่วกาแฟเมล็ดด้วยความร้อนจนกระทั่งกาแฟเมล็ดมีสีน้ำตาล สามารถบ่งบอกถึงความสม่ำเสมอ และคุณภาพของกาแฟเมล็ดได้ เช่น กาแฟเมล็ดมีสีน้ำตาลแก่อ่อนไม่เท่ากัน กาแฟเมล็ดมีการหอดตัวไม่สม่ำเสมอ ผิวของกาแฟเมล็ดที่คั่วแล้วมีสีน้ำตาลด้าน หรือ ผิวของกาแฟเมล็ดไม่เรียบ ซึ่งแสดงถึงปริมาณความชื้นในเมล็ด หรือ ความหนาแน่นของเมล็ด เป็นต้น

ระดับของการคั่วของกาแฟเมล็ด (Roasting Level)

SCA & Aqtron

 

โดยเครื่องวัดสีสามารถ บ่งบอกกระดับความเข้มมากจนถึงระดับความเข้มอ่อน ตามมาตรฐานสากล SCA (Specialty Coffee Assiciation) ซึ่งใช้กันแพร่หลาย

Material Science  (วัสดุศาสตร์)

 

Petrochemical

ในขบวนการผลิตเคมีภัณท์ โดยใช้การตั้งต้นหรือวัตถุดิบเป็นแก๊สธรรมชาติ (NGV) หรือ น้ำมันดิบ (Crude oil) ก็ต้องผ่านกระบวณการ  stream cracking เพื่อแยกสสารและ สสารที่มีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกันได้ ทั้ง

  • Ethylene
  • Propylene
  • Butadiene
  • Benzene
  • By Productในขั้นตอนต่อไปจะได้เม็ดพลาสติกในรูปแบบต่างๆกัน คุณสมบัติที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์การใช้งานที่หลากหลาย ทั้ง Polyethglene (PE), Polypropylene (PP), Polystyrene (PS), Polycarbonate (PC), Polyacetal (PA) และอื่นๆ อีกมากมาย โดยเม็ดพลาสติก ชนิดต่างๆ มีการจัดค่าสีอยู่หลากหลายมาตรฐาน ซึ่ง โดยส่วนใหญ่ใช้สเกลสีสากล เช่นCIE LAB (1976)L* = Lightness – Darkness =a* = Redness – Greenness =b* = Yellowness – Blueness =

หรือ Hunter Lab (1958)

หรือในกรณีที่ต้องการจะดูค่าดัชนีของสี (Color Index) อาจจะดูได้โดยเฉพาะ ค่าความเหลือง (Yellowing Index) ของเม็ดพลาสติกที่เก็บอาไว้นานจนเกินไป

YI ASTM E313

YI ASTM D1925

 

(lot by lot) เพื่อควบคุมคุณภาพของความเข้มข้นของสีให้นิ่งสม่ำเสมอ

Plastic

ธุรกิจพลาสติกและเคมีภัณท์ ในประเทศไทย มีมานานนับหลายสิบปี และ ยิ่งมีความสำคัญในภาคการผลิต, ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ส่วนหนึ่งเพราะเรามีธุรกิจต้นน้ำ (upstream) ที่เป็นวัตถุดิบ ที่ขยายส่วนสู่ อุตสาหกรรม พลาสติก (dowmstream) โดยแยกส่วนทั้งผลิตภันท์ในหลากหลายรูปแบบ

 

  1. เรซิน (Resin)

เป็นเม็ดพลาสติกบริสุทธิ์ (Virgin) ที่ผ่านขบวนการทางเคมีทำให้เกิดเป็นเม็ดพลาสติกสีขาวหรือสีเบส จึงเกิดมีการวัดและควบคุมคุณภาพสี โดยจะใช้การวัดค่าสีแบบดัชนีของ (Color Index) ซึ่งปัจจุบันจะเน้นวัดค่าความขาว (Whiteness Index) โดยการวัดค่าสีที่ค่ามาตรฐาน

 

  • Whiteness Index (WI) ASTM E313 = 4Z% – 3Y

 

  • Whiteness Index (WI) CIE = Y + 1700 (Xn-X) + 800 (Yn – Y)

 

รวมทั้งการอ่านค่าโดยใช้หน่วยของสเกลสี CIE LAB หรือ Hunter Lab โดยดูค่า  L* หรือ L เป็นหลัก

  1. Masterbatch (Pigment in Plastic)

เป็นเม็ดสีเข้มข้นในการผสมในขบวนการ ต่างๆ เช่น Polymerization, Pedction

 

เป็นตัวช่วยในการผลสเฉดสีให้ได้ตามต้องการซึ้งเม็ดสีเข้มข้น (masterbatch) จะมีหลายเฉดสีทั้ง สีแดง,สีเขียว,สีเหลือง ,สีน้ำเงิน อื่นๆ

ซึ่งในส่วนค่าสีที่ใช้ในการวัดจะดูค่าความเข้มของสี (Concentration of pigment / Cdorawt Strength) เครื่องวัดสี สามารถอ่านค่าสีได้ความเข้มข้นดังนี้

  1. Average Strength (SUM)

โดยคำนวณจาดค่า K/S ในตัวความยาวคลื่นแล้วมาหาค่าเฉลี่ยจากจำนวณของความยาวคลื่น

2.Weight Strength (WSUM)

ความเข้มของสี  =

โดยคำนวณจะมีค่าของแหล่งแสงประดิษฐ์ (Illuminant) และ observer (มุมมองของผู้สังเกตการณ์๗ มาคำนวณเพื่อให้มีความใกล้เคียงกับตาของมนุษย์มองมากขึ้น

3.Relative Colorant Strength (WSL)

เป็นการเปรียบเทียบค่าความเข้มข้นของสีแต่ละล็อตการผลิต

 

ข้าว (Rice)

คนไทยรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักแทบทุกมื้อ ข้าวเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดตที่ให้พลังงาน แต่ข้าวในสายพันธ์อื่นๆ ยังให้คุณประโยชน์ต่างๆ นอกเหนือจากเป็นแหล่งพลังงานแล้ว เช่น

  • ข้าวไร้เบอรี่ (Riceburry)

เป็นการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล กับข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเมล็ดข้าวจะเป็นสีม่วงเข้ม และมีระดับน้ำตาลต่ำและมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายไม่ว่าจะเป็น วิตามินอี และแอนโทไซยานิน และมีโพลีฟินอล เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งโรคความดันโลหิตสูง

  • ข้าวมันปู

เป็นข้าวกล้องอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสีเปลือกน้ำตาลแดงเป็นข้าวที่มีความโดดเด่นในเรื่องของใยอาหาร ซึ่งมีปริมาณโยอาหารมากกว่าข้าวถึง 4 เท่า และมีสารสำคัญเ เช่น แอนโทไซยานิน และ แคโรทีน รวมทั้งมีวิตามินบีหนึ่ง (B1) และวิตามินบีสอง (B2) และข้าวมันปู เป็นข้าวที่มีระดับฟอสฟอรัสที่ต่ำซึ่งจะเหมาะกับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องการคุมฟอสฟอรัสในเลือด

  • ข้าว กข 43 เป็นข้าวพันธุ์ผสมระหว่างข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี1 เป็นข้าวที่มีระดับน้ำตาลต่ำเหมาะสมกับผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมปริมาณน้ำตาล

การเลือกรับประทานข้าวควรเลือกข้าวที่ไม่ขัดสีหรือข้าวกล้องเพราะจะมีวิตามินบีสอง(B2)และธาตุต่างๆ

การรับประทานข้าวควรจะทานแต่พอดีให้ร่างกายได้รับสารอาหารโดยเฉพาะแหล่งพลังงาน ถ้ารับประทานมจนเกินไป (เกินกว่า 3 ทัพพี) อาจจะทำให้เกิดสะสมเป็นไขมัน

มาตรฐานสีของข้าวไทย

  • ข้าวขาวใหม่ ควรมีค่า L*(Lightness) อยู่ระหว่าง 85-90 หน่วย, WI > 43 หน่วย
  • ข้าวขาวเก่า ควรมีค่า L*(Lightness) อยู่ระหว่าง 75-80 หน่วย, WI = 37 – 38 หน่วย
  • ข้าวนึ่งสีอ่อน ควรมีค่า L*(Lightness) อยู่ระหว่าง 65-67 หน่วย, WI = 28 – 30 หน่วย

ผู้ส่งออกข้าวไทยเมื่อรับข้าวจากโรงสีข้าวแล้ว จะตรวจสอบด้วยด่า whiteness (Satake,WI) โดยมีหลักเกณฑ์ ดังได้กล่าวข้างต้น โดยใช้การสุ่มตรวจจากการใช้ฉ่ำ (แท่งปลายแหลมมีกระเปาะเก็บข้าวตัวอย่าง) มาบรรจุและเก็บตัวอย่างข้าวปริมาณ 5-10 kg มาตรวจสอบค่าสี ทั้งด้านบน ตอนกลาง ด้านล่างของกระสอบ

หมายเหตุ

  • Whiteness คำนวณค่า Transparantoy ได้เป็นค่า Milling Degree (ระดับของการสีข้าว)

 

ข้าวนึ่ง (Parboil Rice)

มาตรฐานสากลของการส่งออก ข้าวนึ่งของประเทศไทย ไปยังฝั่งทวีปแอฟริกาที่ประชาชนมีความนิยมบริโภคข้าวนึ่ง (รสสัมผัสกึ่งแข็ง และเหมือนข้าวไม่สุกดี)

 

โดยหน่วยงานของการวัดสีที่ใช้ในข้าวนึ่ง คือ

CIE LAB (1976)

Compounding

พลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้งานกันแพร่หลาย และมีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจปิโตรเคมี (Petrochemical) ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำเป็นห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับอนิสงฆ์ในความนิยมนี้

พลาสติกคอมปาวน์ดิ้ง (Compounding) ก็เป็นธุรกิจสำคัญในการขับเคลื่อนใน New S-curve นี้

ในพลาสติกคอมปาวน์ดิ้ง (Compounding) ประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้

  1. เรซิน (Resin)
  2. มาสเตอร์แบ็ช (Masterbatch)
  3. ธารุปรุงแต่ง (Addtive)
  4. อื่นๆ (Other)

โดยการทำปฎิกิริยาเคมี โพลิเมอร์ไรซ์เซชั่น (Polymerization) ในเครื่องผสม + extruder และผ่านหัวฉีดร้อนแบบแท่ง (Rod Die) และเข้าเครื่องตัดเม็ดพลาสติก (Pelletizer) ทำให้เป็นเม็ดพลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั้ง

  • Polyethylene
  • Polypropyrene
  • Polystyrence
  • Polyacctal
  • Polycarbonate และอื่นๆ

 

  1. เรซิน (Resin)

เป็นได้ทั้งเม็ดพลาสติกแบบบริสุทธิ์ (virgin) หรือผ่านการใช้งานแล้ว (Recyecled) โดย เม็ดพลาสติก ทั้ง PE,PP,PS,PVC,HDPE,LDPE,PC,PA และอื่นๆ จะนิยมควบคุมค่าของสีเม็ดพลาสติกในหน่วย

CIE LAB (1976)

หรือ Hunter Lab (1958)

หรืออ่านค่า Whiteness Index (WI) หรือ Yellowness Index (YI) โดย compounding ก็นิยมอ่านควบคุมสีในแบบ CIELAB หรือ HunterLab เช่นกัน