ระบบดัชนีของสีเฉพาะเฉด (Color Indice System) ตอนที่ 2

ระบบดัชนีของสีเฉพาะเฉด (Color Indice System) ตอนที่ 2

1.APHA / HAZEN / PtCo

หน่วยค่าสี APHA ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้โดยสมาคม American Public Health Association ชื่อย่อ (APHA) ในปัจจุบันใช้สำหรับเป็นหน่วยวัดบอกถึงใสบริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรม Chemical , Oil , Plastics and Pharmaceutical industry โดยหน่วยนี้จะแสดงถึงความเหลือของตัวอย่างโดยใช้เป็นตัวชี้วัดว่ามีการเปลี่ยนแปลง เช่นมีการเสื่อมสภาพ (Degradetion) เนื่องจากแสงและอุณหภูมิ มีการปนเปื้อน (Impurity) หรือมีการได้รับผลกระทบมาจากกระบวนการผลิต โดยช่วงของหน่วย APHA / HAZEN PtCo จะอยู่ระหว่าง 0 – 500 PtCo. คือที่ค่าเท่ากับ 0 คือ ค่าสีน้ำกลั่น และที่ 500 คือค่าสีของ Potassium chloroplatinate (K2PtCI6) ที่มีความเข้มข้น 500 ppm.(Stock solution)

2.ASTM E313 Yellowness

เป็นหน่วยที่ใช้บอกค่าความเหลืองของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการมีการเสื่อมสภาพ (Degradetion) เนื่องจากแสงและอุณหภูมิ โดยนิยมใช้ในอุตสาหกรรม Textile , Paint and Plastics industry

3.ASTM D6166 Gardner

  หน่วย Gardner เป็นหน่วยใช้วัดค่าสีของตัวอย่างที่โปร่งใส (Transmission measurement) เช่น เรซิน เป็นต้น โดยจะมีค่าอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.1 – 18.0

4.ASBC Beer Color

เป็นหน่วยวัดค่าสีของ เบียร์ ที่สมาคม American Society of Brewing Chemists (ASBC) นำมาใช้เป็นหน่วยวัดสีของเบียร์ (beer) , มอลท์ (malt worts) สารละลายคาราเมล (caramel solution) เป็นต้น

5.EBC Beer Color

เป็นเครื่องวัดค่าสีของ เบียร์ ที่สมาคม European Brewing Chemists (EBC) นำมาใช้เป็นหน่วยวัดค่าเบียร์ (beer) มอลท์ (malt worts), สารละลายคาราเมล (caramel solution) เป็นต้น

6.ASTM E313 Whiteness

เป็นหน่วยที่ใช้บอกค่าความขาวของผลิตภัณฑ์ (White on surface) เป็นตัวกำหนดคุณภาพของสินค้าต่างๆ เช่น เม็ดพลาสติก , แป้ง , เนื้อปลาผสม หรือ เป็นตัวกำหนดคุณภาพของวัตถุดิบ ก่อนการผลิต