คนไทยรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักแทบทุกมื้อ ข้าวเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดตที่ให้พลังงาน แต่ข้าวในสายพันธ์อื่นๆ ยังให้คุณประโยชน์ต่างๆ นอกเหนือจากเป็นแหล่งพลังงานแล้ว เช่น
- ข้าวไร้เบอรี่ (Rice berry)
เป็นการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล กับข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเมล็ดข้าวจะเป็นสีม่วงเข้ม และมีระดับน้ำตาลต่ำและมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายไม่ว่าจะเป็น วิตามินอี และแอนโทไซยานิน และมีโพลีฟินอล เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งโรคความดันโลหิตสูง
- ข้าวมันปู
เป็นข้าวกล้องอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสีเปลือกน้ำตาลแดงเป็นข้าวที่มีความโดดเด่นในเรื่องของใยอาหาร ซึ่งมีปริมาณโยอาหารมากกว่าข้าวถึง 4 เท่า และมีสารสำคัญเ เช่น แอนโทไซยานิน และ แคโรทีน รวมทั้งมีวิตามินบีหนึ่ง (B1) และวิตามินบีสอง (B2) และข้าวมันปู เป็นข้าวที่มีระดับฟอสฟอรัสที่ต่ำซึ่งจะเหมาะกับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องการคุมฟอสฟอรัสในเลือด
- ข้าว กข 43 เป็นข้าวพันธุ์ผสมระหว่างข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี1 เป็นข้าวที่มีระดับน้ำตาลต่ำเหมาะสมกับผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมปริมาณน้ำตาล
การเลือกรับประทานข้าวควรเลือกข้าวที่ไม่ขัดสีหรือข้าวกล้องเพราะจะมีวิตามินบีสอง(B2)และธาตุต่างๆ
การรับประทานข้าวควรจะทานแต่พอดีให้ร่างกายได้รับสารอาหารโดยเฉพาะแหล่งพลังงาน ถ้ารับประทานมจนเกินไป (เกินกว่า 3 ทัพพี) อาจจะทำให้เกิดสะสมเป็นไขมัน
มาตรฐานสีของข้าวไทย
- ข้าวขาวใหม่ ควรมีค่า L*(Lightness) อยู่ระหว่าง 85-90 หน่วย, WI > 43 หน่วย
- ข้าวขาวเก่า ควรมีค่า L*(Lightness) อยู่ระหว่าง 75-80 หน่วย, WI = 37 – 38 หน่วย
- ข้าวนึ่งสีอ่อน ควรมีค่า L*(Lightness) อยู่ระหว่าง 65-67 หน่วย, WI = 28 – 30 หน่วย
ผู้ส่งออกข้าวไทยเมื่อรับข้าวจากโรงสีข้าวแล้ว จะตรวจสอบด้วยด่า whiteness (Satake,WI) โดยมีหลักเกณฑ์ ดังได้กล่าวข้างต้น โดยใช้การสุ่มตรวจจากการใช้ฉ่ำ (แท่งปลายแหลมมีกระเปาะเก็บข้าวตัวอย่าง) มาบรรจุและเก็บตัวอย่างข้าวปริมาณ 5-10 kg มาตรวจสอบค่าสี ทั้งด้านบน ตอนกลาง ด้านล่างของกระสอบ
หมายเหตุ
- Whiteness คำนวณค่า Transparantoy ได้เป็นค่า Milling Degree (ระดับของการสีข้าว)
ข้าวนึ่ง (Parboil Rice)
มาตรฐานสากลของการส่งออก ข้าวนึ่งของประเทศไทย ไปยังฝั่งทวีปแอฟริกาที่ประชาชนมีความนิยมบริโภคข้าวนึ่ง (รสสัมผัสกึ่งแข็ง และเหมือนข้าวไม่สุกดี)
โดยหน่วยงานของการวัดสีที่ใช้ในข้าวนึ่ง คือ