สเกลที่ใช้วัดสีทั่วไป เช่น HunterLab และ CIELAB หรือสเกลที่เป็นตัวบ่งชี้พิเศษ เช่น ค่าความสว่าง (brightness), ค่าความขาว (whiteness) และค่าความเหลือง (yellowness) เป็นสเกลที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในการวัดค่าสี อย่างไรก็ตามยังมีสเกลพิเศษอื่นๆ ที่ใช้เฉพาะกับงานบางประเภท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
– สเกลพิเศษที่ใช้วัดสีของผงถ่าน
สเกลสีของถ่านมีมาตั้งแต่ปี 1960 และมีการวิจัยรวมถึงการพัฒนาโดยสถาบัน The State Electricity Commission of Victoria (ประเทศออสเตรเลีย) ในปี 1984 โดยสเกลนี้มีใช้ในเครื่องวัดสี HunterLab และมีสูตรคำนวณดังต่อไปนี้
Coal Colour Index for Powdered Brown Coals = 10 ( L’ + a’ + b’ ) +100
โดยที่ L’ = ( L – 16.966 ) / 2.050
a’ = ( a – 2.534 ) / 0.604
b’ = ( b – 4.421 ) / 1.304
L, a, และ b คือ สเกล Hunter L, a, b ซึ่งวัดโย C/2๐
การใช้งานสามารถเรียกใช้ได้ในโปรแกรม EasyMatch QC Versions 3.40 หรือ Version สูงกว่านี้ และโปรแกรม Universal โดยมีวิธีใช้งานแสดงอยู่ในคู่มือการใช้โปรแกรม
– สเกลพิเศษที่ใช้วัดน้ำตาล (ICUMSA)
องค์กรในประเทศอังกฤษเป็นผู้พัฒนาสเกลที่วัดค่าความขาวของน้ำตาล อย่างไรก็ตามค่าที่วัดได้ไม่ใช่ค่าความขาวแต่เป็นค่าความเหลือง สำหรับน้ำตาลที่บริสุทธิ์มากๆ เช่น น้ำตาลกลูโคสสีขาว จะมีค่าความเหลืองน้อยมาก เนื่องจากปริมาณโมลาสที่เหลืออยู่จากกระบวนการทำให้บริสุทธิ์นั้นมีน้อย หรือการเปลี่ยนจากน้ำตาลกลูโคสกลายเป็นไดกลีเซอไรด์
การเตรียมตัวอย่างอย่างสำหรับการวัดสารละลายน้ำตาล 50 Brix เตรียมโดยผสมน้ำตาล 50% และน้ำอีก 50% (น้ำตาล 50 กรัม ในน้ำ 50 กรัม) จากนั้นนำสารละลายที่ได้กรองด้วยกระดาษกรองขนาด 0.45 micron เพื่อกรองน้ำตาลที่ไม่ละลายออกไป แล้วนำสารละลายใส่ถ้วยวัดตัวอย่าง และวัดค่า Absorbance ที่ความยาวคลื่น 420 นาโนเมตร โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
ICUMSA 420 Sugar Score = (Absorbance 420 nm. of 50 Brix white sugar solution x 1000)
cb
โดยที่
c = ความเข้มข้นของสารละลายน้ำตาล หน่วยกรัม / มิลลิลิตร
b = ความหนาของถ้วยใส่ตัวอย่าง (cell path length)
ถ้วยใส่ตัวอย่างจะมีความหนาแตกต่างกันไปดังนี้ 10 mm., 20 mm. และ 50 mm. การเลือกใช้ถ้วยใส่นั้นมีข้อเสนอแนะดังนี้
ICUMSA Color Range
Appropriate Cell Path Length (mm)
100 – 200 50
200 – 500
20
500 – 13,000
10
โดยหลักการนี้ถูกค้นพบใน ICUMA Method GS1/3-7 (Raw Sugar Solution Colour at PH 7.0 official), ICUMSA Method GS2/3-10 (The Determination of White Sugar Solution Colour) และ ICUMSA Method GS2/3-9 (The Determination of Sugar Solution Colour at PH 7.0)
อุปกรณ์เสริมพิเศษของ HunterLab (CMR 2739) ช่วยให้เครื่องวัดสีรุ่น ColorQuest XT สามารถคำนวณหาค่า ICUMSA ได้
– การวัดสีของแป้ง โดย Kent Jones
ในปี 1950 Kent Jones ได้พัฒนาเครื่องมือวัดสีของแป้ง โดยเครื่องมือนี้ใช้หลักการสะท้อนแสงผ่านตัวกรองสีเขียวที่ความยาวคลื่น 530 นาโนเมตร เพื่อแบ่งเกรดผลิตภัณฑ์ ซึ่งวิธีการวัดนั้นต้องเปลี่ยนแป้งให้เป็นของเหลวข้น (แป้ง 30 กรัม ในน้ำ 50 มิลลิลิตร) และวัดโดยใช้เครื่องมือนี้แบบส่องผ่านทะลุ แล้วจึงได้ค่าสีออกมา
ตัวกรอง A CIE Y เหมาะสมที่จะใช้วัดค่าสีของแป้ง โดยค่าความขาวของแป้งถูกคำนวณโดย Croes ในปี 1961 มีสูตรดังนี้
Whiteness Index = G – A + B โดย G, A และ B สามารถอ่านค่าด้วยเครื่องวัดสี HunterLab ผ่านตัวกรอง 3 ตัว ได้แก่ สีเขียว, สีแดง และสีน้ำเงิน ซึ่งค่า G = Y%, A = 1.25X% – 0.25Z% และ B = Z%
– สเกลพิเศษที่ใช้วัดสีกาแฟ (SCAA)
สเกลนี้ไม่จัดถือว่าเป็นสเกล เนื่องจากใช้แผ่นสี 8 สี ในการดูเทียบสีของกาแฟว่ากาแฟอยู่เกรดไหน มีสีออกโทนไหน ไล่ตั้งแต่ออกโทนขาวจนไปถึงโทนดำ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการเลือกเกรดของกาแฟตามที่ลูกค้าต้องการนั้นเอง
สีมาตรฐานของกาแฟสามารถสั่งได้ที่ www.scaa.org โดยมีเลขที่ดังนี้ R4001