สเกลของการวัดสี (2)
หลังจากที่ได้มีการใช้สเกล CIE XYZ แล้ว เราพบข้อบกพร่องหลายประการ ในการสื่อสารเรื่องสี (Color Communication)
องค์กรที่เกี่ยวกับแสง (CIE) จึงพัฒนาสเกลของสีมาใช้ในขณะนั้น เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งสเกล
CIE Chromaticity Diagram , CIE Yxy
ได้มีการค้นคว้า และวิจัยอย่างต่อเนื่องว่า จริงๆแล้วระบบจะสามารถต่อยอดจาก CIE XYZ ที่เราได้พูดถึงก่อนหน้านั้นไปแล้ว
ได้พบว่า Y มีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับความสว่าง (Lightness) เพราะสายตามนุษย์มีความว่างไวกับแสงที่ความยาวคลื่น 550 นาโนเมตร มากที่สุด และที่ความยาวคลื่นนี้ คือ ความยาวคลื่นของแสงสีเขียว แต่ X และ Z จะไม่มีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับความอิ่มตัวของสี (Saturation) ความเข้มของสี (Depth) ความสดใสของสี (Vividness) หรือการมองเห็นสีของสายตา
CIE จึงแนะนำให้แยกระบบความเข้ม (Chromaticity System) ออกจากระบบของแสง (Lightness) จึงเป็นที่มาของค่า Chromaticity coordinates, x, y และ z (หรือที่เรียกอีกแบบว่า trichromatic coefficients) โดย
x = X
X + Y + Z
y = Y
X + Y + Z
z = Z
X + Y + Z
ดูจากสูตรการคำนวณแล้ว เมื่อนำ x,y,z มารวมกันจะมีค่าเท่ากับ 1 เสมอ แต่จะนำเฉพาะค่า x, y ที่มีมาเป็นตัวแทนของความเข้ม (chromaticity)
Figure 7.8 paj 108 หรือ ColorLab รูปภาพ
เป็นสเกลที่เข้าใจได้ยาก อีกสเกลหนึ่งทำให้ไม่ค่อยจะนิยมใช้ในปัจจุบัน ยกเว้นเฉพาะค่า Y (Luminosity) จะนิยมมากในการวัดความส่องสว่างที่สะท้อนจากผิวชิ้นงาน (Luminous of surface)