CONTACT US



สเกลของการวัดค่าสี (Color Scale) (1)

สเกลของการวัดค่าสี (Color Scale)

สเกลของการวัดค่าสี มีความสำคัญไม่น้อยกว่า ปัจจัยที่มีผลกับสีอื่นๆ เมื่อเราเลือก “หลักการของเครื่องวัดสีที่เกี่ยวกับสายตา “ (Optical Geometry) ได้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เราควรจะต้องเลือกสเกลของสี (Color Scale) ให้เหมาะสมกับงานของเรา เพื่อการสื่อสารเรื่องของสี (Color Communciation) ภายในองค์กร ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการครบคุมคุณภาพสี ภายในองค์กรของเรา

CIE Standard Tristimulus Values, CIE XYZ

เป็นสเกลของสีมาตรฐานสเกลที่ใช้ ภายหลังจากมีการคิดค้น และประดิษฐ์เครื่องวัดสีมาใช้ในวงการอุตสาหกรรม (ย้อนไปกว่า 50 ปีที่แล้ว)

โดย Commission International on lllumination หรือชื่อภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Commission Intenationale de I’Eclairage (CIE) องค์กรมาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องแสง (CIE) นี้ได้ทำการพัฒนาทักษะการมองเห็น รับรู้ เกี่ยวกับเรื่องสีของสายตามนุษย์

โดยธรรมชาติสายตามนุษย์มีความสามารถในการมองเห็นสี เนื่องจากดวงตาของมนุษย์จะมีอวัยวะส่วนที่อยู่บริเวณด้านหลังของดวงตาที่เรียกว่า โฟเวีย (Fovea) จะบรรจุเซลล์ที่มีความว่องไวกับเฉดสีอยู่ 2 แบบ

1. เซลล์รูปแท่ง (Rod Cell)

2. เซลล์รูปกรวย (Cone Cell)

เซลล์รูปแท่งเป็นเซลล์ที่มีความว่องไวในการรับ การสะท้อนแสงสีขาว,เทา,ดำ ได้ดี จึงเรียกเซลล์แบบนี้ว่า Night Vision

เซลล์รูปกรวยเป็นเซลล์ที่มความว่องไวในการรับการสะท้อนแสงสีต่างๆ เช่น ม่วง,คราม,น้ำเงิน,เขียว,เหลือง,แสด,แดง (Rainbow Shade) ได้ดี จึงเรียกเซลล์แบบนี้ว่า Color Vision ซึ่งองค์กรมาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องแสง (CIE) จึงได้พยายามคิดค้นสเกลสี ให้มีความใกล้เคียงกับสายตามนุษย์ที่มองเห็นผ่านทางเซลล์บริเวณโฟเวีย ของดวงตามนุษย์เอง ได้เป็นสเกลของสีที่ใช้เป็นสเกลแรกคือ X Y Z

โดย

                E (λ) = พลังงานของแสงในแหล่งแสงประดิษฐ์ แต่ละความยาวคลื่น (The relative power distribution of the illuminant irradiating the object, at wavelength (λ)

R (λ) = การสะท้อนแสงที่ผิวของวัตถุในแต่ละความยาวคลื่น (%Reflectance Factor of the object at wavelength λ)

X (λ),y (λ),Z (λ) = ค่าความว่องไวของสายตามนุษย์โดยเฉลี่ยในแต่ละความยาวคลื่น (The tristimulus values of a monochromatic stimulus of unit power and wavelength λ) เช่น สีของรถนักเรียนสีเหลือง (Yellow School Bus)

 

แต่ในปัจจุบันผู้ใช้งานเครื่องวัดสี (Colorimetric Spectrophotometer) ไม่ค่อยนิยมใช้สเกลสี CIE XYZ เท่าไรเนื่องจากสาเหตุต่างๆ คือ

  • ทราบว่าค่าสี X,Y,Z มีค่าเป็นเท่าไร แต่ไม่ทราบว่าสีของวัตถุ หรือตัวอย่างเป็นสีอะไร ยกตัวอย่างเช่น สีของรถนักเรียนจากรูปภาพข้างบน ค่าของสีเป็น

X = 41.9

Y = 37.7

Z = 8.6

แต่เราไม่ทราบว่าค่า X,Y,Z นั้น ผสมกันแล้วควรจะเป็นสีอะไร หรือ ถ้าค่าสีเป็น

X = 79.0

Y = 83.0

Z = 88.0

เราทราบหรือไม่ว่าสีของชิ้นงาน หรือ วัตถุนั้นเป็นสีอะไร?