สเกลของการวัดค่าสี (3)
หลังจากปีที่ได้มีการค้นคว้า และพัฒนาประสิทธิภาพการมองเห็นของสายมนุษย์โดยเฉลี่ยทุกเผ่าพันธุ์ มาใช้กับเครื่องวัดสี ( x , y, z ) CIE 1931 2< observer นักวิจัยได้พยายามวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับความสม่ำเสมอของสเกลสี DUniform color scales ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปอีก โดยที่สเกลสี ต้องอ่านออกมา และสามารถประเมินผลให้ใกล้เคียงกับสายตามนุษย์มากที่สุด (Assessment of Human Eye)
โดยการพัฒนาจะอิงตามปัจจัยการแยกแยะจำพวกของสี ของสายตามนุษย์ (Organization of Color)
คือ ความขาว-ดำ(Value or Lightness)
ความเข้มของเฉดสี (Chromaticity or Saturation)
เฉดของสี (Hue)
เช่น สเกลสีระบบต่างๆ
CIE Y, x, y ในปี ค.ศ.1931 ได้ถูกพัฒนาต่อไปโดยอ้างอิงตามประสิทธิภาพการมองเห็นสีของสายตามนุษย์ (All Stimulus) เป็น Judd Maxwell Triangle 1935 หลังจากนั้นถัดไปอีก 2 ปี เป็นระบบ MacAdam u, v Diagram 1937 และ Breckenridge and Schaub RUCS 1939.
ในปี ค.ศ. 1942 มิสเตอร์ริชาร์ด อันเตอร์ (Richard Hunter) ได้พัฒนาต่อไปเป็นระบบ Hunter ∞ , β และในปี ค.ศ. 1948 พัฒนาเป็น Hunter Rd, a, b โดยความตั้งใจที่จะปรับปรุงสูตรการคำนวณจากค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัดสีโดยตรง (photoelectric colorimeter)
โดย ƒ(Y) = 0.51(21+ 0.2Y) ใน Rd, a, b
1 + 0.2Y
LRd = Y ƒ(Y), aRd = 1.75 ƒ(Y)(X% – Y), bRd = 0.70 ƒ(Y)(Y + Z)
ณ ขณะนั้นยังใช้ปัจจัยของสภาวะแสง และผู้สังเกตการณ์เป็น CIE illuminant C และ CIE 2< Standard Observer (1931) ซึ่งแกน aRd และ bRd คำนวณค่าได้ใกล้เคียงกับสายตามอง แต่ความขาวของ Rd (Lightness of Rd) ไม่ค่อยจะอ่านค่าได้ตามความขาว (Lightness) นัก จะไปตรงกับความส่องสว่างเป็นประกาย (Y, Luminosity) มากกว่า
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1950 ถึง 1958 , อันเตอร์ (Hunter) ได้ทำในสิ่งที่เป็นวัตถุประสงค์ โดยพัฒนาทฤษฎีความตรงกันข้ามของสี (Opponent Color Theory) ให้มีการกระจายตัวของทั้งแกนความขาว-ดำ (L, whiteness – blackness), แกนความแดง-เขียว (a, redness – greenness), แกนความเหลือง-น้ำเงิน (b, yellowness w blueness) ได้ดียิ่งขึ้น
LL = 10 1 √Y , aL = 17.5(X% – Y), bL = 7.0(Y + Z%)
√Y √Y
โดยขณะนั้นยังใช้ illuminant / observer (C/2<) อยู่ระบบของอันเตอร์ ยังใช้ต่อมาอีกหลายปีจนกระทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบผู้สังเกตการณ์ (Observer 10<, 1964) นำมุมมอง 10 องศา มาใช้ในระบบด้วย ทำให้แหล่งแสงประดิษฐ์ต่างๆ (illuminants) ต้องมีการเพิ่มค่าในการคำนวณสเกลของสีดังนี้
ทำให้เกิดผลกระทบของแหล่งแสง (illuminants) ไม่เท่ากันในทุกๆแหล่ง และมุมมอง (Observer) ที่มีค่าความว่องไวของสายตามนุษย์ที่แตกต่างกัน (Tristimulus Value, x , y, z ) ทำให้เกิดการพัฒนาสูตรของฮันเตอร์อีกเป็น
L = 100 (Yi/Yni)1/2
a = 175 (Xni/Xn(c,29)) (Xi/Xni + Yi/Yni)
(Yi/Yni)1/2
b = 70 (Zni/Zn(c,29)) (Yi/Yni + Zi/Zni)
(Yi/Yni)1/2
ขณะนั้นยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่ทำให้สูตรของหน่วยฮันเตอร์ยังสมบูรณ์นัก เช่น ระบบของเครื่องวัดสีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากระบบ Colorimeter Sensing เป็นระบบ microprocessor ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนสูตรสีเพื่อสามารถ เพิ่ม-ลด ค่าการคำนวณจากสูตรเดิมดังนี้
HunterLab
L = 100 (Y/Yn)1/2
a = Ka(X/Xn + Y/Yn)
(Y/Yn)1/2
b = Kb(Y/Yn + Z/Zn)
(Y/Yn)1/2
โดย X Y Z คือ CIE X Y Z
Xn, Yn, Zn คือ tristimulus value
Ka, Kb คือ expansion factor for the selected illuminant and observer