ทำอย่างไรจึงจะทำให้การมองเห็นสีมีประสิทธิภาพ?

Evaluation of Appearance

1. การประเมินผลของการมองเห็นสี (Evaluation of Apprearance)

ทำอย่างไรจึงจะทำให้การมองเห็นสีมีประสิทธิภาพ? (How should visual evaluations of appearance be performed?)

จากที่ทราบกันในข้อมูลหรือตำราที่เคยศึกษา ปัจจัยของแสงและการมองรวมทั้งปัจจัยอื่นๆ สามารถมีผลกระทบโดยตรงกับการมองเห็นสีของมนุษย์ (appearance) ในความถูกต้องและแน่นอนของการเปรียบเทียบการมองเห็นสีของสายตามนุษย์ (Appearance) กับวัตถุจำเป็นต้องมีการทำการสอบเทียบ (Calibration) การมองนั้นๆ
โดยทั่วไปการมองเห็นความมันเงาของวัตถุ (gloss) เราจะสังเกตโดยมองที่ผิววัตถุในมุมตรงข้าม (Opposite the angle) กับแสงกระทบ (incident light) ซึ่งเรียกว่า ดู Specular Reflectance
ส่วนในการมอง “สี” (Color) นั้น ถ้าแสงส่องจากด้านบนของวัตถุ เราจะมองที่สายตาเอียงทำมุม 45 องศา หรือในทางกลับกัน เราจะมองจากด้านบนของวัตถุ ถ้าแสงส่องผ่านจากทางด้านข้างเอียง 45 องศา ซึ่งจะมีคำอธิบายที่มากกว่านั้นในเอกสาร ASTM D1729 “Standard Practice for Evaluation of Color Differences of Opaque Materials”

2. และควบคุมสภาวะต่างๆให้เหมือนกันคือ

• แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) เช่น จะใช้แสงแดด (Day Light), อินแคนเดสเซนต์ (incandescent) ไฟที่ให้ความสว่างโดยโลหะทองเหลืองที่ร้อน หรือเรียกสั้นๆว่า ไฟโชว์รูม (show room), Cool White Fluorescent (CWF) จะต้องถูกเลือกว่าจะใช้แบบใด

• สภาวะของแสง (Photometric Condition) จะใช้ความสว่างของแสงอยู่ประมาณ 75 – 175 แสงเทียน หรือ 0 – 150% แต่ปกติสายตามนุษย์จะมองเห็นและตอบสนองได้ดีในช่วง 0 – 100%

• สภาวะของการมอง (Geometric Condition) มองที่มุมมอง 45/0 หรือ 0/45

• สภาวะด้านหลังของวัตถุ (Background to sample being viewed) ควรจะต้องเป็นสีเทา (neutral gray)

เครื่องวัดสีจะประเมินผลค่าของสีให้ใกล้เคียงสายตามนุษย์ได้อย่างไร?(How is Appearance Evaluated Instrumentally?)

ปัจจุบันเราใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า “45/0 circumferiental” จึงจะได้ค่าของสีใกล้เคียงกับสายตามนุษย์ คุณสมบัติของวัตถุ สี, ลักษณะพื้นผิว และคุณสมบัติอื่นๆ ของวัตถุที่มีผลต่อการวัดค่าสีผ่านระบบเครื่องมือดังนี้ วัตถุทึบแสงไม่เป็นโลหะ ปกติเราจะวัดในฟังก์ชั่นของการวัดแบบสะท้อนแสง (Reflectance Mode) เราใช้ระบบของเครื่องที่เป็น 45/0 หรือ 0/45 มาวัดตัวอย่างหรือวัตถุประเภทนี้ เพราะเราสามารถแยกแยะความแตกต่างของพื้นผิวได้ดีกว่าแบบอื่นๆ วัตถุทึบแสงมีส่วนผสมโลหะ ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุนั้นๆมีความเรียบ (smooth) และมันเงา (shiny) เป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ฟอยส์ เราใช้หัวการวัด D/8๐ , RSIN ถ้าชิ้นงานมีความขรุขระที่พื้นผิวชิ้นงานใช้ 45/0

3. วัตถุโปร่งใส (Transparent)

ใช้หลักการวัดแบบทะลุผ่านตามกฎของเบียร์แลมเบิร์ต (Beer’s Lambert Law) โดยการอ่านค่าของ % Transmission หรือความขุ่น (Haze)
วัตถุโปร่งแสง (Translucent) จริงๆแล้วจะขึ้นอยู่กับ ปริมาณของ “Diffuse Reflectance กับ Diffuse Transmittance” ว่าปริมาณของแบบไหนจะมีมากกว่ากัน
– กำหนดความหนาของตัวอย่างให้คงที่ และพยายามทำให้ตัวอย่างดูแล้วทึบแสงมากที่สุด
– วางแผ่นมาตรฐานสีขาวที่ด้านหลังของตัวอย่าง
– ปิดทับด้วย “Black Cover” เพื่อป้องกันแสงจากภายนอกรบกวน
– ปรับลำแสงที่ส่องผ่านให้เล็ก แต่เลือกใช้ช่องการอ่านตัวอย่างที่กว้าง

ชนิดของเครื่องทดสอบ (Instrument Type) มี 2 แบบ คือ “Colorimeter และ Spectrophotometer”

การเตรียมตัวอย่างก่อนทำการวัด (Sample Preparation Method)
ตัวอย่างในอุดมคติ ควรจะเป็นที่ทึบแสง, เป็นเนื้อเดียว, แบนไม่โค้งเว้า และควรจะใหญ่กว่าช่องอ่านตัวอย่าง
การวัดตัวอย่าง (Sample Presentation Method)
มีวิธีการวัดตัวอย่างในรูปหลายแบบ แต่โดยในส่วนของการวัดตัวอย่างที่เหมาะสมควรจะปฏิบัติดังต่อไปนี้
– ถ้ามีขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่าง และการวัดค่าสีของตัวอย่างหลายขั้นตอน ถ้าให้ดีควรจะบันทึกเป็นขั้นตอนของการเตรียมตัวอย่างการวัดค่าสีของตัวอย่าง
– ในกรณีที่วัดตัวอย่างจำนวนมาก ต้องแน่ใจว่า การเตรียมและวัดตัวอย่างเหมือนเดิมทุกประการ
– ห้องหรือสถานที่ที่วัดตัวอย่าง ควรจะสะอาดปราศจากฝุ่น และควรจะเป็นห้องปรับอากาศ (Air Conditioned Room) อย่าให้เครื่องถูกแสงแดดโดยตรง
– ใช้พื้นที่ของช่วงอ่านตัวอย่าง (Port Size) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่ขนาดของตัวอย่างจะเอื้ออำนวย
– ในกรณีที่ตัวอย่างไม่สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน (Non-homogeneous) ควรจะอ่านตัวอย่าง อย่างน้อย 4 ครั้ง และเฉลี่ยค่าที่อ่านในแต่ละครั้ง (Average Measurement)
– หลีกเลี่ยงการอ่านค่าลักษณะพื้นผิวของตัวอย่างที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่เล็กเกินไป หรือมีความโค้งเว้ามากเกินไป
การายงานและเปรียบเทียบค่าของการวัดสี

ปัจจัยที่มีผลต่อการวัดค่าสีของเครื่องมือ และจำเป็นต้องระบุในรายงาน คือ

– หน่วยของการวัดค่าสี (Color Scale)
– แหล่งแสงประดิษฐ์ที่ใช้ (Illuminant)
– มุมมองของผู้สังเกตการณ์ (Observer)
– ชนิดของเครื่อง, หลักการวัด, ฟังก์ชั่นในการวัด (Instrument type, geometry, mode)
– การสอบเทียบเครื่องมือ (The basis of the instrument calibration)
– การเตรียมชิ้นงานก่อนการวัด (Sample Preparation method)
– วิธีการวัดชิ้นงาน (Sample Presentation Method)